นอนงีบกี่นาที มีผลต่อสมองอย่างไร
รู้ไหมว่าการนอนด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อสมองต่างกันไปด้วย มาดูกันว่าคุณควรจะนอนนานแค่ไหน กับสถานการณ์ยังไงบ้าง
Sleep Expert หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการพักผ่อนนอนหลับ เปิดเผยว่า ระยะเวลาที่เราหลับ (หรือใช้คำว่างีบ) นั้น จะมีผลกับสมองและร่างกายของคุณแตกต่างกันออกไป ในบางกรณี คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องฝืนตื่น เพราะอาจจะงีบแค่ไม่กี่นาทีก็ได้ หรือในบางกรณี คุณอาจจะต้องการนอนหลับลึก จึงจะเหมาะสมกับกิจกรรมหรือสถานการณ์ตรงหน้า
มาเริ่มที่การงีบ แบบ 10 - 20 นาที หรือที่เรียกว่า Power nap จะเหมาะสำหรับการสร้างควาสดชื่นและเพิ่มพลังงานในกรณ๊ที่คุณกำลังทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากกว่าใช้สมองจดจำ เช่นการงีบรอเวลาไปเที่ยว หรือการนอนรอแฟนกลับบ้าน. ระยะเวลา 10 - 20 นาทีหรือ Power nap นั้นจะทำให้คุณหลับอยู่ในขั้นเบาสุดของ non-rapid eye movement (NREM) เหมือนการกดปุ่ม Pause ขณะเล่นเกมส์ ทำให้คุณสามารถตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมนั้นๆต่อได้ในทันที
30 นาที เป็นระยะเวลาที่ไม่ค่อยจะดีนัก เพราะผลการวิจัยบอกว่าการนอนด้วยเวลาเท่านี้ จะทำให้คุณมีอาการง่วงซึม ปวดหัว เหมือนคน hang ตื่นนอน รู้สึกมึนๆ งงๆ และลุกขึ้นยาก กว่าคุณจะรู้สึกหายง่วงจากการนอน ลองนึกภาพตอนคุณหลับบนรถตู้ หรือรถเมล์ แล้วตื่นตอนถึงที่หมายซิครับ
60 นาที เป็นการนอนที่จะส่งผลดีต่อความจำหลังจากตื่นขึ้นมา จะช่วยให้สมองคุณปลอดโปร่งในระดับนึง ทำให้สามารถจดจำข้อมูลต่างๆได้ดีขึ้น การนอนด้วยเวลาเท่านี้จะทำให้สมองอยู่ในขั้น slow-wave sleep คือหลับลึกในระดับนึงนั่นเอง แต่ข้อเสียก็คือการนอนด้วยเวลาเท่านี้ จะทำให้คุณงัวเงียมาก และตื่นยากพอสมควร เหมาะสำหรับพักผ่อนในขณะที่คุณโหมงานหนักอะไรซักอย่างอยู่ เช่นทำงานส่งลูกค้าแบบหามรุ่งหามค่ำ การอ่านหนังสือสอบข้ามคืน
90 นาที เป็นระยะเวลาการนอนที่สมองจะได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด และมีการเข้าสู่ขั้นตอนของการฝัน ช่วยให้สมองได้พักเต็มที่ และหลังจากตื่นจะมีอารมณ์ดีขึ้น มีความจำที่แม่นยำขึ้น และจินตนาการสร้างสรรค์ทำงานได้เต็มที่ ความสดชื่นจากการนอนด้วยระยะเวลาเท่านี้ จะช่วยให้คุณไม่รู้สึกงัวเงีย เหงาหงอยครับ